ดาวเนปจูน

ดาวเนปจูน
Neptune.jpg
ดาวเนปจูน หรือชื่อไทยว่า ดาวพระเกตุ คือดาวเคราะห์ในระบบสุริยะลำดับที่ 8 หรือลำดับสุดท้ายที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ (ขึ้นอยู่กับการโคจรของดาวพลูโต ซึ่งบางครั้งจะเข้ามาอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่า) ตัวดาวมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่เป็นอันดับที่ 4 รองจากดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และมีมวลเป็นลำดับที่ 3 รองจากดาวพฤหัสและดาวเสาร์ คำว่า "เนปจูน" นั้นตั้งชื่อตามเทพเจ้าแห่งท้องทะเลของโรมัน (กรีก : โปเซดอน) มีสัญลักษณ์เป็น (♆)
ดาวเนปจูนมีสีน้ำเงิน เนื่องจากองค์ประกอบหลักของบรรยากาศผิวนอกเป็น ไฮโดรเจน ฮีเลียม และมีเทน บรรยากาศของดาวเนปจูน มีกระแสลมที่รุนแรง (2500 กม/ชม.) อุณหภูมิพื้นผิวอยู่ที่ประมาณ -220℃ (-364 °F) ซึ่งหนาวเย็นมากๆ เนื่องจาก ดาวเนปจูนอยู่ไกลดวงอาทิตย์มาก แต่แกนกลางภายในของดาวเนปจูน ประกอบด้วยหินและก๊าซร้อน อุณหภูมิประมาณ 7,000℃ (12,632 °F) ซึ่งร้อนกว่าพื้นผิวของดวงอาทิตย์เสียอีก
ยานวอยเอเจอร์ 2 เป็นยานอวกาศจากโลกเพียงลำเดียวเท่านั้น ที่เคยเดินทางไปถึงดาวเนปจูนเมื่อ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) ภาพของดาวเนปจูนซึ่งได้ถ่ายลักษณะของดาวมาแสดงให้เราเห็นจุดดำใหญ่ (คล้ายจุดแดงใหญ่ ของดาวพฤหัส) อยู่ค่อนมาทางซีกใต้ของดาว มีวงแหวนบางๆสีเข้มอยู่โดยรอบ (วงแหวนของดาวเนปจูน ค้นพบก่อนหน้านั้น โดย เอ็ดเวิร์ด กิแนน (Edward Guinan)
ดาวเนปจูนมีดวงจันทร์บริวาร 13 ดวง และดวงใหญ่ที่สุดมีชื่อว่า ไทรทัน

ภาพจาก ยานวอยเอเจอร์ 2 แสดง ดาวเนปจูนและดวงจันทร์บริวาร ชื่อ ไทรทัน
ดาวเนปจูน
ดาว เนปจูนถูกค้นพบ หลังจากการค้นพบดาวยูเรนัส โดยนักดาราศาสตร์พบว่าวงโคจรของดาวยูเรนัสมิได้เป็นไปตามกฏของนิวตัน จึงทำให้เกิดการพยากรณ์ว่า จะต้องมีดาวเคราะห์อีกดวงหนึ่งที่อยู่ไกลถัดออกไป มารบกวนวงโคจรของดาวยูเรนัส
เนปจูนถูกเยี่ยมเยือนโดยยานอวกาศเพียงลำเดียวคือ วอยเอเจอร์ 2 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ.2532, เกือบ ทุกอย่างที่เรารู้เกี่ยวกับดาวเนปจูน มาจากการเยี่ยมเยือนในครั้งนี้ เนื่องจากวงโคจรของ ดาวพลูโต เป็นวงรีมาก ในบางครั้งมันจะตัดกับวงโคจรของเนปจูน ทำให้เนปจูนเป็นดาวเคราะห์ซึ่งอยู่ไกลที่สุดในบางปี
ดาวเนปจูนมีองค์ประกอบคล้ายคลึงกับดาวยูเรนัส เช่น รูปแบบของน้ำแข็ง มีไฮโดรเจน 15% และ ฮีเลียมจำนวนเล็กน้อย ดาวเนปจูนแตกต่างกับดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ ตรงที่ไม่มีการแบ่งชั้นภายในที่ชัดเจน เรารู้เพียงว่ามีแกนกลางที่มีขนาดเล็ก (มีมวลประมาณเท่าโลก) ดาวเนปจูนเป็นดาวเคราะห์สีน้ำเงินเช่นเดียวกับดาวยูเรนัส เพราะในชั้นบรรยากาศมีก๊าซมีเทน เป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย
ในช่วงเวลาที่ยานวอยเอเจอร์เข้าใกล้ดาวเนปจูน ได้ภาพถ่ายที่มสิ่งสะดุดตาคือ จุดดำใหญ่ (Great dark spot) ทางซีกใต้ของดาว มีขนาดใหญ่เกือบครึ่งหนึ่งของจุดแดงใหญ่บนดาวพฤหัสบดี (ประมาณ เท่ากับเส้นผ่านศูนย์กลางของโลก) จุดดำใหญ่นี้เป็นศูนย์กลางพายุเช่นเดียวกับจุดแดงใหญ่บนดาวพฤหัส มีทิศทางกระแสลมพัดไปทางตะวันตก ด้วยความเร็ว 300 เมตร/วินาที
วงแหวน
ดาวเนปจูนมีวงแหวน 4 วง และมีความสว่างไม่มากนัก เพราะประกอบด้วยอนุภาคที่เป็นผงฝุ่นขนาดเล็ก จนถึงขนาดประมาณ 10 เมตร เช่นเดียวกับวงแหวนของดาวพฤหัสและดาวยูเรนัส ภาพถ่ายจากยานวอยเอเจอร์แสดงให้เห็นถึงวงแหวนหลัก 2 วง และวงแหวนบางๆ อยู่ระหว่างวงแหวนทั้งสอง
ดวงจันทร์บริวาร
ดาวเนปจูนมีดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 8 ดวง โดยมีดวงจันทร์ชื่อ "ทายตัน" (Triton) เป็นบริวารที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ในบรรดาดวงจันทร์บริวารทั้ง 8 ดวง ทายตันมีวงโคจรที่สวนทางกับการหมุนรอบตัวเองของดาวเนปจูน นักดาราศาสตร์คาดว่า ทายตันจะโคจรเข้าใกล้ดาวเนปจูนเรื่อยๆ และพุ่งเข้าชนดาวเนปจูนในที่สุด (อาจใช้เวลาถึงเกือบ 100 ล้านปี)

ประวัติการค้นพบ

ใน ปี พ.ศ. 2389 Urbain Le Verrier.jpg ( Urbain Le Verrier ) คำนวณว่า ต้องมีดาวเคราะห์ดวงหนึ่งรบกวนการโคจรของดาวยูเรนัส จนเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2389 โจฮันน์ จี. กาลเล (Johann G. Galle ) นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมันแห่งหอดูดาวเบอร์ลิน ได้ค้นพบดาวเนปจูน(อังกฤษ : Neptune)ในตำแหน่งใกล้เคียงกับผลการคำนวณดังกล่าว


นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เออร์เบียน เลอ เวอเรียร์
ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ โดยเฉลี่ย 4,469.7 ล้านกิโลเมตร(30.058 a.u.)
ใกล้สุด 4,456 ล้านกิโลเมตร (29.08 a.u.)
ไกลสุด 4,537 ล้านกิโลเมตร (30.316 a.u.)
Eccentricity 0.009
คาบการหมุนรอบตัวเอง 16 ชั่วโมง 1นาที
คาบการหมุนรอบดวงอาทิตย์ 164.8 ปีบนโลก ด้วยความเร็ว 5.43 กิโลเมตรต่อวินาที
ระนาบโคจร (Inclination) 1:34:19.8 องศา
แกนเอียงกับระนาบโคจร 28:48 องศา
มวล 17.20 เท่าของโลก
เส้นผ่านศูนย์กลาง 50,538 กิโลเมตร (โลก 12,756 กิโลเมตร ที่เส้นศูนย์สูตร)
แรงโน้มถ่วง 1.2 เท่าของโลก
ความเร็วหลุดพ้น 23.9 กิโลเมตรต่อวินาที
ความหน่าแน่น 1 ต่อ 2.0643 เมื่อเทียบกับน้ำ
ความสว่างสูงสุด +7.7
               ดาว เนปจูน เป็นดาวเคราะห์ที่มีประวัติการค้นพบแปลกมากคือ ก่อนที่จะมีการค้นพบโดยใช้กล้องโทรทรรศน์นั้น นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อ อูร์แบง เลอแวร์รีเย (Urbain Leverier) และชาวอังกฤษชื่อ จอห์น คูช อดัมส์ (John Couch Adams) ได้ ทำการคำนวณหา ตำแหน่งของดาวไว้ก่อนล่วงหน้า แล้วว่า จะต้องมีดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอีกหนึ่งดวง ต่อมานักดาราศาสตร์ ชาวเยอรมัน ชื่อ โยฮันน์ กัลเลอ (Johann Galle) จึงได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ ตรวจสอบ ตามตำแหน่งที่คำนวณ และตรวจพบเห็นจริงที่หอดูดาวเบอร์ลิน ในปี พ.ศ.2389 หรือ ค.ศ.1846
              ดาวเนปจูนเป็นดาวเคราะห์สีน้ำเงินกลมเล็ก ๆ อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็น ลำดับที่ 8 เป็นระยะทาง 30.07 หน่วยดาราศาสตร์ หรือ 4,510,000,000 กิโลเมตร จากการที่มีระยะทาง ที่ห่าง ไกลมาก และมีแสงสว่าง ที่ค่อนข้างน้อยมาก ทำให้ยากต่อการสังเกตการณ์ในรายละเอียด แม้จะใช้กล้องโทรทรรศน์ที่มี กำลัง ขยายมาก แล้วก็ตาม อย่างไรก็ดี จากการคำนวณและพิจารณาทางภาคทฤษฎี พบว่า ดาวเนปจูนมีเส้นผ่าน ศูนย์กลาง ประมาณ 49,528 กิโลเมตรมีวงทางโคจร เกือบจะเป็นวงกลม ความเร็วในวงทางโคจรประมาณ 5.43 กิโลเมตรต่อวินาที ใช้เวลา โคจรรอบดวงอาทิตย์ครบ 1 รอบนานถึง 164.8 ปี และหมุนรอบตัวเองใช้เวลาประมาณ 16 ชั่วโมง 7 นาที ดาวเนปจูน มีดวงจันทร์เป็นบริวาร 8 ดวง สำหรับดวงจันทร์ ไตรตัน (Triton) เป็นเทหวัตถุที่เย็นที่สุด ในระบบสุริยะ (มีจุดเยือกแข็ง -235 องศาเซลเซียส) และพบว่ามีภูเขาน้ำแข็งบางลูกคุกรุ่นอยู่บนดวงจันทร์ไตรตัน

ASpacer.gif

แบ่งตามระยะทาง
ASpacer.gif
174719main LEFTREDSouthPole304 Vertical.jpg GPN-2000-000465.jpg Venuspioneeruv.jpg The Earth seen from Apollo 17.png Mars Valles Marineris.jpeg Gaspra rotation.jpg Jupiter.jpg Saturn (planet) large.jpg Uranus.jpg Neptune.jpg ThePlutinos Size Albedo Color.svg
ASpacer.gif
ดาวเนปจูน